ตราประทับ หรือ ตรายาง ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงตัวตนของบุคคลอย่างหนึ่งในสังคมจีนที่มีมาช้านาน ตราประทับมีพัฒนาการมาจากการแกะสลักตัวหนังสือบนกระดองเต๋าและกระดูกสัตว์ในสมัยซาง (ประมาณ ๔,๕๐๐ ปีก่อน) จากหลักฐานทางโบราณคดีที่มีการขุดค้นพบ มีการใช้ตราประทับมาไม่น้อยกว่าสมัยจั้นกว๋อ (ปลายสมัยโจวประมาณ ๒,๕๐๐ ปีก่อน)
ต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ (ฉินสื่อหวงตี้) ปราบแคว้นจ้าวสำเร็จ ได้หยกเหอสิอปี้ในตำนานมาไว้ในครอบครอง และหลังจากบำราบ ๖ แคว้น และสถาปนาตนเองเป็นฮ่องเต้ จึงให้หลี่ซือขุนนางคนสนิทนำหยกเหอสือปี้ไปแกะเป็นตราประทับ โดยมีข้อความเป็นอักษรจีน ๘ ตัวว่า “受命于天,即寿永昌” ต่อมา จิ๋นซีฮ่องเต้ เสด็จทางชลมารค เกิดลมพายุใหญ่ เรื่อพระที่นั่งโคลงเคลง ฉินสื่อเกรงเรือจะล่ม จึงอธิษฐานต่อเทพยดา แล้วโยนตราประทับนั้นลงไปในน้ำ ทันใดนั้นคลื่นลมก็พลันสงบ นับแต่นั้นตราประทับเหอสือปี้ ก็หายสาบสูญไปในที่สุด
นับแต่โบราณ ตราประทับ หรือตรายาง เป็นสัญลักษณ์ “แสดงตัวตน” ตลอดจน “ฐานะของบุคคล” จึงเป็นสิ่งที่ “แสดงถึงอำนาจ” ไปโดยปริยาย คนจีนนับแต่โบราณและในปัจจุบัน เรียกตราประทับว่า "อิ้น" (印) นอกจากนี้ยังมีชื่อเรียกต่างๆ กันดังต่อไปนี้
๑. ซี่ (玺) หลังจากฉินสื่อหวงฯ สถาปนาตนเองเป็นที่ฮ่องเต้ จึงมีคำสั่งให้ใช้คำว่า "ซี่" เรียกแทนตราประทับ สำหรับโอรสสวรรค์ (ฮ่องเต้) ส่วนขุนนางและประชาชนทั่วไป ให้เรียกว่า "อิ้น"
๒. เป่า (宝 ) เนื่องจากคำว่า "ซี่" เรียกไปเรียกจะออกเสียงคล้ายกับคำว่าว่า "สื่อ" (死) ที่แปลว่าตาย ต่อมาจึงเลี่ยงไปใช้คำว่า "เป่า" ที่แปลว่าของมีค่า, ของวิเศษ, แก้ว แทน
๓. จาง (章) ในสมัยฮั่นใช้คำว่า "จาง" เรียกแทนตราประทับของแม่ทัพ
๔. จี้ (记) มีความหายถึงการรู้จักการจดจำ เริ่มใช้ในสมัยถังและซ่ง
๕. กวนฝาง (关防) ในสมัยหมิงไท่จู่ เพื่อป้องกันข้าราชการนัดแนะกันเอง จึงมีการกำหนดให้เอกาสารราชประทับตรา "กวนฝาง" นี้ทุกครั้ง ตลอดจนมีการนำไปพิมพ์ด้วย ต่อมาแม้จะมีการเลิกวิธีการดังกล่าว แต่ก็ยังมีการใช้คำๆ นี้เรื่อยมา
ในสมัยโบราณตราประทับจะทำจากหยกหรือหินที่มีค่า ชาวบ้านสามัญชนนั้นยากที่จะมีได้ โดยนับแต่โบราณตราประทับจากทำจากหยกหรือหินมีค่า ในสมัยถังเริ่มมีการทำตราประทับที่จากโลหะเช่นทอง เงิน สำริด และตราประทับที่ทำจากกระเบื้องเริ่มมีทำขึ้นในสมัยถังและซ่ง
โดยทั่วไปตราประทับจะแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด ดังที่คนในวงการเรียกกันว่า ตัวผู้หรือตัวเมีย หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า หยินหยาง โดยที่ตราประทับหยาง (阳印) คือ คัวหนังสือเป็นสีแดง ส่วนพื้นจะปล่อยเว้นว่างไว้ ส่วนตราประทับหยิน (阴印) คือตราประทับที่พื้นเป็นสีแดง ส่วนที่เป็นตัวหนังสือจะเว้นว่างไว้ และด้วยเหตุที่ตราประทับอินจะมีสีแดงมาก จึงมีอีกชื่อว่า "จูอิ้น" (朱印) หรือ "ตราประทับชาด" ซึ่งตราประทับในสมัยโบราณที่พบนั้นโดยมากจะเป็นตราประทับอิน ส่วนตราประทับในชั้นหลังๆ จะเป็นตราประทับหยาง เป็นส่วนใหญ่ อนึ่งตราประทับผู้เมีย หรือตราประทับหยินหยางนี้ ไม่ได้ใช้เป็นเครื่องกำหนดเพศของผู้ใช้แต่อย่างใด